เมนู

ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้ว ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ฯลฯ เสนาสนะแล้ว ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่นีวรณธรรม และสัมปยุตตขันธ์
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
7. นีวรณธรรม และธรรมที่ไม่ใช่นีวรณธรรม เป็น
ปัจจัยแก่นีวรณธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
นีวรณธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ นีวรณธรรม
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย มี 3 วาระ (วาระที่ 7-8-9)

10. ปุเรชาตปัจจัย


[599] 1. ธรรมที่ไม่ใช่นีวรณธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่ไม่ใช่นีวรณธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น มี 3 วาระ.

ปุเรชาตปัจจัย เหมือนกับ อารัมมณปัจจัย.
พึงจำแนก กุศล และอกุศล.

11. ปัจฉาชาตปัจจัย


[600] 1. นีวรณธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่นีวรณธรรม
ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย มี 3 วาระ.

12. อาเสวนปัจจัย


ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย มี 9 วาระ.

13. กัมมปัจจัย


[601] 1. ธรรมที่ไม่ใช่นีวรณธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่ไม่ใช่นีวรณธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาที่ไม่ใช่นีวรณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่
เจตนาที่ไม่ใช่นีวรณธรรม เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ และกฏัตตารูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.